Category Archives: ตำบลไทรน้อย

ตำบลไทรน้อย

ตำบลไทรน้อย  is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.

ตำบลไทรน้อย  บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

เทศบาลตำบลไทรน้อย
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลไทรน้อย
ตรา
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°58′42″N 100°18′48″E
พื้นที่
 • ทั้งหมด 2.3 ตร.กม. (0.9 ตร.ไมล์)
ประชากร (2561)
 • ทั้งหมด 2,557 คน
 • ความหนาแน่น 1,111.74 คน/ตร.กม. (2,879.4 คน/ตร.ไมล์)
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 10/11 หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 2 ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150
โทรศัพท์ 0 2597 1010, 0 2597 1016
เว็บไซต์ www.sainoi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลไทรน้อย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และเป็นเทศบาลตำบลหนึ่งในสิบเอ็ดแห่งของจังหวัดนนทบุรีในปัจจุบัน

ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2499 ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไทรน้อยมีสภาพชุมชนที่หนาแน่นพอสมควร ในวันที่ 30 สิงหาคม ของปีนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศจัดตั้ง สุขาภิบาลราษฎร์นิยม ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ชุมชนในบริเวณดังกล่าวทั้งสองฝั่งคลองพระพิมล เพื่อประโยชน์ในการทะนุบำรุงท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า[1] สุขาภิบาลแห่งนี้มีพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างเขตตำบลไทรน้อยกับตำบลราษฎร์นิยมตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ทางราชการได้แยกบางหมู่บ้านของตำบลราษฎร์นิยมออกมาตั้งเป็นตำบลคลองขวาง[2] การเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในครั้งนี้ทำให้ตำบลราษฎร์นิยมเหลือพื้นที่เฉพาะทางตอนเหนือสุดของจังหวัดนนทบุรี ส่วนพื้นที่ทางตอนใต้ของตำบลราษฎร์นิยม (เดิม) ซึ่งมีบางส่วนอยู่ในเขตสุขาภิบาลราษฎร์นิยมด้วยนั้นกลายเป็นท้องที่ปกครองของตำบลคลองขวางที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่

จนกระทั่งวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่ทั่วประเทศในขณะนั้นเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมด เนื่องจากโครงสร้างการปกครองแบบสุขาภิบาลไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและไม่เหมาะสมที่จะรองรับการกระจายอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ[3] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน (ในช่วงก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับ) กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลราษฎร์นิยมเป็น สุขาภิบาลไทรน้อย เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ตั้ง[4] (ท้องที่ตำบลราษฎร์นิยมไม่เกี่ยวข้องกับท้องที่ของสุขาภิบาลแห่งนี้แล้ว) และเมื่อพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[3] สุขาภิบาลไทรน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลไทรน้อย

ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลไทรน้อยเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการสาธารณะ โดยขยายเขตด้านเหนือขึ้นไปจรดทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านไทรน้อย-บ้านคลองนาหมอนและถนนบางกรวย-ไทรน้อย และขยายเขตด้านใต้ลงไปจรดคลองไทรน้อยพัฒนา (คลองแอน) พื้นที่ที่ขยายเพิ่มออกไปนี้ได้แก่ ท้องที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 (บ้านคลองพระพิมลราชา) ตำบลคลองขวาง และบางส่วนของหมู่ที่ 5 (บ้านคลองพระพิมลราชา) ตำบลไทรน้อย ได้รับโอนมาจากจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขวางและองค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อยตามลำดับ[5]

สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]

เทศบาลตำบลไทรน้อยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกของตำบลไทรน้อย มีคลองพระพิมล คลองทวีวัฒนา และคลองห้าร้อยไหลผ่าน มีพื้นที่ 2.3 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,437.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลคลองขวาง และบางส่วนของหมู่ที่ 5 ตำบลไทรน้อย[6] โดยมีเขตเทศบาลติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้[5]

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้ไขต้นฉบับ]

เทศบาลตำบลไทรน้อยมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่ราบภาคกลางตอนล่างในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1-2 เมตร ความต่างระดับมีน้อยประมาณ 1-5 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้ไขต้นฉบับ]

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลไทรน้อยคล้ายคลึงกับกรุงเทพมหานคร คือ เป็นแบบร้อนชื้นเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ อุณหภูมิสูงตลอดปี มีฤดูฝนสลับฤดูแล้งชัดเจน อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวไม่มากนัก อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 32.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24.2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์โดยเฉลี่ยร้อยละ 76.3 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,795.5 มิลลิเมตร

สมรรถนะดิน[แก้ไขต้นฉบับ]

สมรรถนะของดินโดยทั่วไปเป็นดินชุดบางเขน ซึ่งเป็นดินที่มีลักษณะดีมากเหมาะกับการทำนา แต่น้ำท่วมได้ง่ายและเป็นดินเหลวที่ใช้สำหรับเพาะปลูกพืชไร่ เหมาะสำหรับทำนา เพราะน้ำไหลระบายได้ช้า

แหล่งน้ำ[แก้ไขต้นฉบับ]

เทศบาลตำบลไทรน้อย มีลำน้ำที่สำคัญที่ใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภคและเส้นทางคมนาคม คือ